อุนสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน (พระเบิก)
ตราสัญลักษณ์ เทศบาลตำบลเวียงตาล
Download ตราสัญลักษณ์ เทศบาลตำบลเวียงตาล ภาพสี ลายเส้นขาวดำ
ตราสัญลักษณ์เทศบาลตำบลเวียงตาลเป็นรูปอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาล หมายถึง เจ้าพ่อขุนตาลหรือ พระยาเบิกเป็นผู้สร้างเมืองเวียงต้านขึ้น (ปัจจุบันเวียงตาล) เพื่อต้านทัพของพระยาเม็งราย ซึ่งยกทัพเข้ามาเพื่อรบเข้าตีเมืองลำปาง (เขลางค์นคร) และได้สู้รบจนถูกจับและนำไปฝัง จึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาลขึ้น ณ บริเวณเมืองเวียงต้านในอดีตยังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่จนถึง ปัจจุบันอยู่ในตำบลเวียงตาล อาเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ประวัติเจ้าพ่อขุนตาน
พญาเบิกหรือเจ้าพ่อขุนตาน เป็นเจ้าเมืองเขลางค์นครและเจ้าเมืองต้าน เป็นราชบุตรของพญายีบา เจ้าเมืองหรภุญชัย (ลำพูน) ในราชวงศ์จามเทวีและเป็นธรรมเนียมและพระราชประเพณีราชวงศ์จามเทวี ราชบุตรองค์ใดก่อนขึ้นครองราชย์ นครหริภุญชัย จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยุพราชไปครองเมืองเขลางค์นครเสียก่อน เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๑๔ ครั้งพญายีบาเป็นเจ้าครองนครหริภุญชัย ก็ได้ให้พญาเบิก หรือ เจ้าพ่อขุนตาน ราชบุตรไปครองเมืองเขลางค์นคร กระทั่งปี พ.ศ. ๑๘๒๔ กองทัพพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงรายและเจ้าเมืองฝางยกกองทัพมาตีเมืองหริภุญชัยแตก และยึดเมืองได้ พญายีบาจึงเสด็จหนีการรบไปพึ่งพญาเบิกผู้เป็นราชบุตรที่เมืองเขลางค์นคร เจ้าพญาเบิกจึงสะสมไพร่พลเพื่อป้องกันความมั่นคงของเมืองเขลางค์นคร เจ้าพญาเบิกจึงไปสร้างเมืองต้านศึก ขึ้นในพื้นที่บริเวณแห่งหนึ่งในเขตอำเภอห้างฉัตร ใกล้ทิวเขาใหญ่เมืองนั้นต่อมามีนามว่า “เวียงต้าน” ส่วนทิวเขาสูงยาวเหยียดคั่นระหว่างลำปางและลำพูน ซึ่งเป็นแนวทางวางกำลังไพร่พล ตีสกัดกองทัพพญาเม็งราย ต่อมาเรียกว่า“ดอยขุนต้าน”ซึ่งปัจจุบันก็คือดอยขุนตาน การสู้รบที่เวียงต้านตามแนวเขาขุนต้านเป็นการสู้รบอย่างหนัก ที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพญาเม็งราย เจ้าพญาเบิกและเจ้าพญายีบาจึงถอยทัพร่นลงมาติดหล่มหนองใหญ่แห่งหนึ่ง ปัจจุบันคือบ้านหลิ่งก้าน ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร นั่นเอง
พญาเบิก หรือเจ้าพ่อขุนตาน เป็นยอดนักรบที่มีความคงกระพันชาตรีและมีกุสโลบาย ในการวางแผนการรบอย่างลึกซึ้ง ฉกาจฉกรรจ์ เช่น การตั้งทำเลเวียงต้าน การซุ่มรี้พลจู่โจม ตีข้าศึกแบบกองโจรตามแนวเขา รบกวนกองทัพพญาเม็งราย ที่จะเข้าตีให้ถึงเมืองเขลางค์นคร นับว่าเป็นอัจฉริยะในการรบเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่พญาเบิกเสียทัพอย่างสิ้นเชิง จนถึงจับตัวได้ ก็ไม่สามารถจะใช้ศาสตราวุธใดๆ สังหารได้ เนื่องจากความคงกระพันชาตรีของท่าน ทหารจึงนำตัวไปขุดหลุมฝังทั้งเป็น จนสิ้นพระชนม์ ณ ดอยแห่งหนึ่งบนทิวเขาขุนตาน ปัจจุบันเรียกว่า “ดอยพญาลำปาง” อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างบ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล กับบ้านแม่ยามเหนือ ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เขตติดต่ออำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จากประวัติวีรกรรมความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ในการต่อสู้กับข้าศึกผู้รุกรานเมืองเขลางค์นครและความกตัญญูกตเวทิตาต่อพระบิดา ของเจ้าพญาเบิก ในครั้งนั้นทำให้ชาวอำเภอห้างฉัตรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันต่างจดจำและสำนึกในเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลมิรู้ลืม จึงพร้อมใจกันกำหนดให้มีงานพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของพญาเบิก หรือเจ้าพ่อขุนตานเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงเกียรติคุณความดี และวีรกรรมอันกล้าหาญของเจ้าพ่อขุนตาน ตลอดจนเพื่อให้เกิดความ เป็นสิริมงคล ความสมบูรณ์พูนสุขแก่บ้านเมืองและประชาชนสืบมา
“เมืองโบราณเวียงต้านและเวียงรมณีย์”
เวียงต้านและเวียงรมณีย์ เป็นเวียงคู่แฝด ที่กำเนิดมาคนละช่วงยุคสมัย เวียงรมณีย์ ถ้าดูตามหลักฐานของรอบภูมิประเทศที่เหลืออยู่เชื่อได้เลยว่า เวียงรมณีย์เป็นเวียงที่กำเนิดก่อนและเป็นเวียงเล็ก ที่อยู่คนละฝั่งลำน้ำแม่ตาล เป็นเวียงที่มีกำแพงเมืองและคูเมืองที่ไม่เป็นรูปเรขาคณิต ปัจจุบันแทบไม่เหลือร่องรอยความเป็นเวียง พื้นที่เวียงถูกบุกรุกครอบครอง เป็นที่ทำกินของชาวบ้านโดยรอบกันหมด เวียงต้านเป็นเวียงที่เหลือร่องรอยคูเมือง (คือเมือง) และกำแพงเมืองจากการสังเกตดูการขุดคือเมืองและการสร้างกำแพงเมืองพบว่า เวียงต้านคงมีการอยู่อาศัย และก่อสร้างเมือง / เวียง ๒–๓ ยุค จะเห็นได้จากการขุดเมือง และสร้างกำแพงเมืองออกเป็น ๓ ส่วน คล้ายรูปตัว L) ดังแผนผัง ๑. ยางคะตึก เป็นสถานที่สำหรับชาวเมืองบูชาเทพยดา ทุกขี ด้วยกวางคำ (โดยใช้สุนัขขนคำแทน) ยางคะตึกที่มี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเวียงโบราณ , ๒. ทุ่งตะคอก เป็นสถานที่คุมขังนักโทษ / เชลย ,๓. หนองอาบช้าง เป็นสระ / หนองน้ำใช้อาบน้ำชำระร่างกายของช้าง เจ้าเมือง , ๔. บ่อน้ำโบราณที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก อยู่กลางเวียงเป็นรูปวงกลมก่อสร้างด้วยอิฐดินเผา
1.สภาพพื้นที่ของตำบลเวียงตาล
1.1 ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลเวียงตาล ตั้งอยู่เลขที่ 352/3 หมู่ 4 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้างฉัตร ประมาณ 1 กิโลเมตร
การเดินทางมาเทศบาลตำบลเวียงตาล โดยเริ่มจากศาลากลางจังหวัดลำปาง มา ได้ 2 เส้นทางดังนี้
1.มาตามถนนสายลำปาง-เชียงใหม่ (ทางหลวงแผ่นหมายเลขที่ 11) ระยะทางประมาณ 22.7 กิโลเมตร
2.มาตามถนนทางหลวงแผ่นหมายเลขที่ 1039 ทางประมาณ 25 กิโลเมตร
1.2 เนื้อที่
มีพื้นที่ประมาณ 107.186 ตารางกิโลเมตร (66,991 ไร่ 1 งาน)
1.3 ภูมิประเทศ
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีลักษณะพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าสงวนแห่งชาติ ฝั่งขวาของแม่น้ำวังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่เหลือ 2 ใน 3 เป็นที่ราบลุ่มและที่ดินเป็นบริเวณที่ใช้ในการเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลวอแก้ว และตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
หมู่บ้านมี จำนวน 11 หมู่ประกอบด้วย (ข้อมูล ณ 18 ตุลาคม 2565)
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
ผู้ใหญ่บ้าน |
ประธานประชาคม หมู่บ้าน |
1 |
บ้านสันทราย |
นายสนิท อ้นอ้าย |
นายสุพรรณ เป็งงำเมือง |
2 |
บ้านเหล่า |
นายสุขเสือน ฉัตรเขื่อนแก้ว |
นายเสาร์แก้ว ตามูล |
3 |
บ้านใหม่แม่ปาง |
นายมนัส วังขวา |
นายบัณฑิต ทิพย์ศรีบุตร |
4 |
บ้านยางอ้อย |
นายสุพรรณ เป็งทราย |
นายวัฒนา วงเวียน (ประธานประชาคมตำบล) |
5 |
บ้านหัววัง |
นายเสาร์แก้ว มูลวงศ์ |
นายสน ปินตา |
6 |
บ้านทุ่งเกวียน |
นายเอกสิทธิ์ ใจงำเมือง |
นายปรีชา ด้วงปันตา |
7 |
บ้านห้วยเรียน |
นายสุพจน์ ไชยยา |
นายนิพนธ์ สันวันดี |
8 |
บ้านแม่ตาลน้อย |
นายธีระพงษ์ คำอ้าย |
นางเทียมจันทร์ ใจวัน |
9 |
บ้านปางปง – ปางทราย |
นางทิวาพรรณ แซ่ลินวงศ์ |
นางจำปี วงศ์ตั้ง |
10 |
บ้านดอน |
นายอรรถพล จันทร์กัน |
นายทวี อุตมะ |
11 |
บ้านยางอ้อยใต้ |
นายณัฎฐ์ แก้วตา
|
นายฐิติกร วาณิชธรวิภาส |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่ บ้าน |
ชาย |
หญิง (คน) |
รวม |
บ้านรวม |
ชื่อผู้ใหญ่ บ้าน |
0 | ทะเบียนบ้านกลาง | 0 | 0 | 0 | 1 | |
1 |
สันทราย |
600 |
694 |
1,294 |
520 |
นายสนิท อ้นอ้าย |
2 |
เหล่า |
188 |
205 |
393 |
165 |
นายสุขเสือน ฉัตรเขื่อนแก้ว |
3 |
ใหม่แม่ปาง |
153 |
143 |
296 |
119 |
นายมนัส วังขวา |
4 |
ยางอ้อย |
544 |
561 |
1,105 |
465 |
นายสุพรรณ เป็งทราย |
5 |
หัววัง |
474 |
480 |
954 |
400 |
นายเสาร์แก้ว มูลวงศ์ |
6 |
ทุ่งเกวียน |
760 |
855 |
1,615 |
803 |
นายเอกสิทธิ์ ใจงำเมือง |
7 |
ห้วยเรียน |
252 |
278 |
530 |
237 |
นายสุพจน์ ไชยยา |
8 |
แม่ตาลน้อย |
235 |
248 |
483 |
188 |
นายธีระพงษ์ คำอ้าย |
9 |
ปางปงปางทราย |
140 |
128 |
268 |
125 |
นางทิวาพรรณ์ แซ่ลินวงศ์ |
10 |
ดอน |
259 |
297 |
556 |
334 |
นายอรรถพล จันทร์กัน |
11 |
ยางอ้อยใต้ |
395 |
410 |
805 |
285 |
นายณัฎฐ์ แก้วตา |
รวม |
4,042 |
4,338 |
8,380 |
3,615 |
**ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2568
สมาชิกสภาเทศบาลจำนวน ๑๒ คน
2.1 สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรในตำบลเวียงตาล ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อจำหน่ายและบริโภคเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองได้แก่ รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม และค้าขาย มีพื้นที่ทำการเกษตร ทั้ง 11 หมู่บ้าน
หมู่ที่ |
บ้าน |
พื้นที่ทั้งหมด |
พื้นที่การเกษตร |
|||
ที่นา (ไร่) |
ที่ไร่ (ไร่) |
ไม้ผล (ไร่) |
พืชผัก (ไร่) |
|||
1 |
สันทราย |
2,567 |
710 |
50 |
200 |
2 |
2 |
เหล่า |
950 |
320 |
70 |
180 |
1 |
3 |
ใหม่แม่ปาง |
910 |
210 |
50 |
165 |
1 |
4 |
ยางอ้อย |
2,500 |
740 |
40 |
280 |
1 |
5 |
หัววัง |
1,800 |
680 |
100 |
375 |
2 |
6 |
ทุ่งเกวียน |
1,500 |
250 |
62 |
200 |
15 |
7 |
ห้วยเรียน |
1,250 |
300 |
100 |
120 |
2 |
8 |
แม่ตาลน้อย |
1,000 |
152 |
50 |
50 |
2 |
9 |
ปางปง-ปางทราย |
800 |
50 |
20 |
10 |
1 |
10 |
ดอน |
1,250 |
300 |
40 |
110 |
4 |
11 |
ยางอ้อยใต้ |
1,500 |
845 |
300 |
318 |
5 |
รวมพื้นที่ทั้งหมด |
16,027 |
4,557 |
882 |
2,008 |
25 |
การรวมกลุ่มของประชาชน 25 กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม
2.1.1 กลุ่มอาชีพ 22 กลุ่ม
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ปลูกหญ้าแพงโกล่า) 1 กลุ่ม (ม. 1)
- กลุ่มเลี้ยงวัว 5 กลุ่ม (ม.3 (2 กลุ่ม) ม.4 ,ม.9 ( 2 กลุ่ม)
- กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ 1 กลุ่ม (ม. 4)
- กลุ่มเย็บรองเท้าผ้า 1 กลุ่ม (ม. 4)
- กลุ่มเพาะเห็ด 2 กลุ่ม (ม. 5)
- กลุ่มทำแหนม 1 กลุ่ม (ม. 6)
- กลุ่มเลี้ยงปลาผสมผสาน 1 กลุ่ม (ม. 7)
- กลุ่มทำนา 1 กลุ่ม (ม. 7)
- กลุ่มเย็บผ้า 4 กลุ่ม (ม.7,ม.8 (2 กลุ่ม),ม.10)
- กลุ่มเลี้ยงไก่ 1 กลุ่ม (ม.10)
- กลุ่มเลี้ยงโค 1 กลุ่ม (ม.10)
- กลุ่มปลูกมันสำปะหลัง 1 กลุ่ม (ม.11)
- สภาวัฒนธรรมตำบลเวียงตาล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
- ศูนย์กีฬาตำบลเวียงตาล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน พัฒนาด้านการกีฬา แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล
- ธนาคาร 1 แห่ง (ธนาคารตามโครงการพระราชดำริฯ ม.1)
- โรงแรม - แห่ง
- โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 2 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 11 แห่ง
- ตลาดสด 4 แห่ง
- โรงสีข้าว 5 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ 5 แห่ง
3.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 11 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเวียงตาล
- หอกระจายข่าวในหมู่บ้านและเสียงตามสาย 11 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์การทางศาสนา
- วัด / สำนักสงฆ์ มีจำนวน 12 แห่ง คือ
- อนุสาวรีย์ 1 แห่ง (อนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน ม.5 บ้านหัววัง)
7.การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐบาล - แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 2 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 เปอร์เซ็นต์
8.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธร 1 แห่ง
- สถานีดับเพลิง 1 แห่ง
- อบต. (ศูนย์ อปพร.) 1 แห่ง
เทศบาลตำบลเวียงตาลได้รับการถ่ายโอนภารกิจและรับผิดชอบในการบริหารกิจการประปาหมู่บ้านจำนวน 9 แห่ง ได้แก่
มีครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา จำนวน 3,237 ครัวเรือน
12.แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,ลำห้วย 4 แห่ง คือ ลำน้ำแม่ตาล,แม่ปาง,ห้วยส้ม และ ห้วยถ้ำเสือ
- บึง,หนอง,และอื่น ๆ 13 แห่ง คือ หนองห้า,หนองหมู,หนองเหม็น,หนองกวาง,หนองถ่อน,หนองม้า,หนองวังอีนา,หนองหลง ใหม่,อ่างเก็บน้ำแม่ลอง,น้ำตกแม่ลอง,อ่างเก็บน้ำแม่สัน,อ่างเก็บน้ำห้วย เรียน และ อ่างเก็บน้ำแม่ตาลน้อย
13แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 30 แห่ง - ฝายชะลอน้ำ 160 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 535 แห่ง - บ่อโยก 11 แห่ง
- อนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน
- ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
- สวนป่าทุ่งเกวียน
- กาดทุ่งเกวียน
- อ่างเก็บน้ำแม่สัน
- อ่างเก็บน้ำแม่ตาลน้อย
- อ่างเก็บน้ำแม่ลอง
- น้ำตกแม่ลอง
- อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
- กาดต้นเงินนครลำปาง
15. จุดเด่นของพื้นที่
- มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง อาทิเช่น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย,สวนป่าทุ่งเกวียน, น้ำตกแม่ลอง, อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล, งานสะโตกช้าง ฯลฯ ซึ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยว มาท่องเที่ยวนำรายได้มาสู่ตำบล
- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร และมีแหล่งน้ำทีใช้ในการเกษตร
- มีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน บริโภค และจำหน่าย
- คุณภาพของดิน เป็นดินร่วนปนดินเหนียวเหมาะสมในการปลูกข้าว อ้อย มะม่วง มะขาม กล้วย ลำไย มะละกอ และถั่วลิสง
- มีโรงงานอุตสาหกรรม 11 แห่ง ซึ่งทำให้ประชาชนในพื้นที่มีงานทำและมีรายได้
.
ข้อมูลของเทศบาลตำบลเวียงตาล
- ชาย 9 คน / หญิง 3 คน
โครงสร้างของเทศบาลส่วนตำบลเวียงตาล แบ่งออกเป็น
- นายกเทศมนตรีตำบลเวียงตาล จำนวน 1 คน
- รองนายกเทศมนตรีตำบลเวียงตาล จำนวน 2 คน
- เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลเวียงตาล จำนวน 1 คน
- ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน
- สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเวียงตาล จำนวน 12 คน
สำนักปลัดเทศบาลตำบล
- ปลัดเทศบาล |
จำนวน |
1 |
คน |
- รองปลัดเทศบาล |
จำนวน |
1 |
คน |
- หัวหน้าสำนักปลัด |
จำนวน |
1 |
คน |
- หัวหน้าฝ่ายปกครอง |
จำนวน |
1 |
คน |
- หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ |
จำนวน |
1 |
คน |
- นักพัฒนาชุมชน |
จำนวน |
1 |
คน |
- เจ้าพนักงานธุรการ |
จำนวน |
1 |
คน |
- เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
จำนวน |
1 |
คน |
รวม |
9 |
คน |
กองคลัง
- หัวหน้าส่วนการคลัง |
จำนวน |
1 |
คน |
- นักวิชาการเงินและบัญชี |
จำนวน |
1 |
คน |
- นักวิชาการจัดเก็บรายได้ |
จำนวน |
1 |
คน |
- นักวิชาการคลัง |
จำนวน |
1 |
คน |
รวม |
4 |
คน |
กองช่าง
- ผู้อำนวยการกองช่าง |
จำนวน |
1 |
คน |
- นายช่างโยธา |
จำนวน |
2 |
คน |
- เจ้าพนักงานธุรการ |
จำนวน |
1 |
คน |
รวม |
4 |
คน |
กองการศึกษา
- ผู้อำยวนการกองการศึกษา |
จำนวน |
1 |
คน |
- ครูผู้ดูแลเด็ก |
จำนวน |
11 |
คน |
รวม |
12 |
คน |
ลูกจ้างประจำ
- เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี |
จำนวน |
1 |
คน |
รวม |
1 |
คน |
พนักงานจ้างตามภารกิจ
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ |
จำนวน |
1 |
คน |
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ |
จำนวน |
1 |
คน |
- ผู้ช่วยช่างโยธา |
จำนวน |
1 |
คน |
- พนักงานขับรถยนต์ |
จำนวน |
3 |
คน |
- คนสวน |
จำนวน |
2 |
คน |
- ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย |
จำนวน |
7 |
คน |
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
จำนวน |
- |
คน |
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล |
จำนวน |
2 |
คน |
- ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน |
จำนวน |
1 |
คน |
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัสดุ |
จำนวน |
2 |
คน |
- พนักงานดับเพลิง |
จำนวน |
4 |
คน |
รวม |
24 |
คน |
พนักงานจ้างทั่วไป
- พนักงานดับเพลิง |
จำนวน |
4 |
คน |
รวม |
4 |
คน |
ระดับการศึกษาของบุคลากร
- ปริญญาโท จำนวน 11 คน
- ปริญญาตรี จำนวน 27 คน
- ประถมศึกษา/มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา จำนวน 9 คน